ชมรมตำรวจอาสาสถานีตรวจภูธรหนองขาม

วันศุกร์ที่ 8 ตุลาคม พ.ศ. 2553

ตำรวจอาสาโปรดทราบ


การออก ว. 4 

คำแนะนำ การจดจำตำหนิรูปพรรณบุคคล
และยานพาหนะคนร้าย
 
การก่ออาชญากรรม การก่อการร้าย ถือได้ว่าเป็นการกระทำของบุคคลทั้งสิ้น บุคคลต้องเข้ามาเกี่ยวข้องในแง่ของผู้กระทำดังที่เรา เรียกกันว่า "คนร้าย"หรือ "ผู้ร้าย"ประกอบกับวิวัฒนาการทางเทคโนโลยีปัจจุบันได้ก้าวหน้าไปอย่างรวดเร็ว จึงทำให้การกระทำความผิดของคนร้ายมักจะใช้ยานพาหนะต่างๆ เพื่อการหลบหนีอย่างรวดเร็ว
พาหนะที่ใช้เช่น รถยนต์ รถจักรยานยนต์ ฯลฯ ในช่วงเวลาที่คนร้ายกระทำความผิดและหลบหนีนั้นคนร้ายย่อมพยายามจะใช้เวลาให้รวดเร็วที่สุด เพื่อมิให้ผู้ใดพบเห็นและจะให้ลอดพ้นจากการสืบสวนติดตามจับกุมของเจ้าหน้าที่ตำรวจพนักงานรักษาความปลอดภัยหรือประชาชนทั้งหลายย่อมมีโอกาสได้พบเห็นการ
กระทำความผิดได้ง่ายกว่าเจ้าหน้าที่ตำรวจทั้งนี้เนื่องจากหากคนร้ายเห็นเจ้าหน้าที่ตำรวจมักจะไม่กระทำความผิด ดังนั้นการที่ท่านำได้มีโอกาสพบเห็นการกระทำผิดดัง
กล่าว แล้วนั้น ถ้าท่านได้ถูกซักถามถึงเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นท่านอาจจดจำได้ เฉพาะเหตุกว้างๆเท่านั้นในรายละเอียดอันสำคัญ เช่น รูปพรรณของคนร้าย การหลบหนีด้วยวิธีใด
ท่านอาจจะตอบไม่ถูก ทั้งนี้เพราะท่านอาจไม่สนใจมากนัก หรืออาจเนื่องจากการ ที่ท่านยังไม่ทราบว่าหลักการที่จะสังเกตจดจำรูปพรรณคนร้ายยานพาหนะที่ใช้หลบหนี
เป็นอย่างไร และมีความสำคัญอย่างไร จึงต้องจดจำสิ่งเหล่านั้น

การจดจำตำหนิรูปพรรณของคนร้าย      ยานพาหนะของคนร้ายได้ดีนั้นมีความสำคัญมากต่อการสืบสวนจับกุมผู้กระทำความผิดมาลงโทษ ทั้งนี้เนื่องจากถ้าท่าน
สามารถจดรูปร่างหน้าตาตำหนิรูปพรรณของคนร้าย และลักษณะรูปพรรณคล้ายกับข้อมูลของท่านหรือนำไปสเกตซ์ภาพคนร้ายแล้วประกาศสืบจับโดยทั่วไป ส่วนยานพาหนะที่ใช้นั้นย่อมเป็นแนวทางในการสืบสวนไปถึงตัวผู้เป็นเจ้าของและผู้ที่ใช้ยานพาหนะนั้นซึ่งอาจสันนิษฐานได้ว่าเป็นคนร้ายที่ได้กระทำความผิดอันเป็น
ประโยชน์ต่อการสืบสวนการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ตำรวจเป็นอย่างยิ่งในผลงานของตำรวจที่ผ่านมาเป็นจำนวนมากที่พลเมืองดีเช่นท่านทั้งหลาย ได้แสดงความ
สามารถในการสังเกตจดจำตำหนิรูปพรรณคนร้าย และยานพาหนะที่ใช้เป็นอย่างดีเป็นผลให้ตำรวจสามารถพิชิตคดีสำคัญๆแล้วได้ตัวคนร้ายมาลงโทษในที่สุด ดังนั้น
เพื่อเป็นการผนึกกำลังร่วมกันระหว่างตำรวจกับประชาชนในอันที่จะป้องกันปราบปรามอาชญากรรม การก่อความวุ่นวายต่างๆ พวกเราต้องช่วยกันทุกวิถีทางในอันที่จะ
ป้องกันมิให้เกิดเหตุหรือหากมีเกิดขึ้นเราก็สามารถจดจำข้อมูลของคนร้ายและนำมาลงโทษได้ เพื่อรักษาความสงบเรียบร้อยความปลอดภัยแก่สังคม หรือสถานที่ที่ท่าน
ดูแลรักษาให้คงอยู่ตลอดไป
ในการนี้จึงขอแนะนำวิธีการจดจำตำหนิรูปพรรณคนร้ายลักษณะยานพาหนะต่างๆ มาให้ท่านได้ทราบ เพื่อเป็นแนวทางในการสังเกตจดจำและโดยเฉพาะอย่างยิ่งตำหนิ
รูปพรรณของคนร้ายหากท่านสามารถจดจำรายละเอียดได้มาก โอกาสที่ทางตำรวจจะจับกุมคนร้ายก็มีมากขึ้นด้วย การสังเกตจดจำตำหนิรูปพรรณบุคคล หรือคนร้าย

1. หลักการของการสังเกตจดจำตำหนิรูปพรรณ มีดังนี้
1.1 สังเกตจดจำสิ่งที่ใหญ่เห็นง่ายไปสู่สิ่งที่เล็กเห็นยาก
1.2 สังเกตจดจำลักษณะเด่น ตำหนิไปสู่ลักษณะปกติธรรมดา
1.3 พยายามอย่าจดจำทุกสิ่งทุกอย่าง แต่ให้จดจำบางอย่างที่ท่านจดจำได้อย่างแม่นยำ
1.4 เมื่อคนร้ายหลบหนีไปแล้วอย่าถามผู้อื่นว่าเห็นอะไรให้รีบบันทึกตำหนิรูปพรรณที่ท่านเห็นและจดจำได้ลงใน สมุดหรือกระดาษโดยทันที
1.5 มอบรายละเอียดให้กับเจ้าหน้าที่ตำรวจผู้มีหน้าที่เกี่ยวข้อง
2. สิ่งที่สามารถจดจำได้ง่าย และควรจดจำก่อน
2.1 เพศ เป็น ชาย หญิง กระเทย
2.2 วัยเด็ก วัยรุ่น ผู้ใหญ่ แก่ ฯลฯ อายุประมาณเท่าใด
2.3 รูปร่าง สูง เตี้ย อ้วน ผอม สันทัด ฯลฯ
2.4 ผิวเนื้อ ขาว ขาวเหลือง ดำ ซีด เหี่ยวย่น ฯลฯ
2.5 เชื้อชาติ ดูจากใบหน้า เป็นคนไทย จีน ลูกครึ่ง แขก ฯลฯ
2.6 รูปหน้า รูปไข่ กลม ยาว เหลี่ยม ฯลฯ
2.7 ผม สั้น หงอก หนา หยิก ตัดทรงอะไร หวีอย่างไร ฯลฯ
2.8 ปาก กว้าง แคบ ใหญ่ ริมฝีปากหนา ฯลฯ
2.9 หู กาง ใหญ่ เล็ก ติ่งหูแหลม ฯลฯ
2.10 ตา เล็ก โต พอง โปน ตาชั้นเดียว สองชั้น ตาเข สวมแว่นตา แว่นกันแดด ฯลฯ
3. สิ่งที่เป็นจุดเด่นผิดปกติ ตำหนิ ที่อาจจดจำได้ง่าย
3.1 ตำหนิ แผลเป็นบนใบหน้า ไฝ ปาน หูด เนื้อติ่งมีลักษณะอย่างไร อยู่ส่วนไหนของร่างกาย
3.2 แผลเป็น มีลักษณะอย่างไร ขนาดเท่าใด อยู่ที่ส่วนไหนของร่างกาย
3.3 ลายสัก สักรูปอะไร สีอะไร อยู่ที่ส่วนใดของร่างกาย
3.4 ความพิการ ตาบอด หูหนวก ใบ้ แขนขาด้วน ลีบ ปากเบี้ยว ฯลฯ
3.5 ท่าทางการเดิน เดินตัวตรง ตัวเอียง ขากะเผลก
3.6 สำเนียงการพูด พูดช้า พูดเร็ว ติดอ่าง สำเนียง เป็นคนไทย จีน ฝรั่ง หรือสำเนียงคนภาคใด
3.7 การกระทำบ่อยๆ สูบบุหรี่จัด พูดเอามือปิดปากติดยาเสพติด เวลาพูดเอามือล้วงกระเป๋า
3.8 การแต่งกาย จดจำเสื้อ กางเกง เช่น แขนสั้น-ยาว ขาสั้น-ยาว ฯลฯ แบบของเสื้อ กางเกง เช่น ยีน เสื้อยืด เสื้อเชิ้ต
เครื่องแบบนักศึกษา สีอะไร ลายแบบไหนมีตัวเลขอะไรหรือไม่ รองเท้าที่สวมเป็นชนิดใด สีอะไร แบบใด
3.9 เครื่องประดับ มีเครื่องประดับอะไรบ้างที่เห็นได้ชัด เช่น แว่นตา นาฬิกา แหวน สร้อย กระเป๋าถือ ฯลฯ
4. กรณีที่คนร้ายมีการพรางใบหน้า เช่น สวมแว่นตากันแดด สวมหมวกกันน็อค คลุมศีรษะด้วยถุง ฯลฯ
ก็ให้พยายามจดจำสิ่งที่ใช้พราง และจดจำส่วนอื่นๆ ของร่างกายที่มิได้พรางและจดจำได้ง่ายดังที่เคยได้กล่าวมาแล้ว

การสังเกตจดจำยานพาหนะของคนร้าย หรือผู้ต้องสงสัย
1. มีหลักใหญ่ๆ ดังนี้1.1 สังเกตจดจำสิ่งที่ใหญ่ เห็นง่ายไปสู่สิ่งที่เล็กเห็นยาก
1.2 สังเกตจดจำตำหนิ รอยชน สติกเกอร์ จุดเด่นต่าง
1.3 พยายามสังเกต อย่าจดจำทุกสิ่งทุกอย่าง แต่ให้จดจำบางสิ่งที่ท่านจำได้อย่างแม่นยำ
1.4 เมื่อคนร้ายได้ลบหนีไปแล้ว อย่างถามผู้อื่นว่าเห็นอย่างไร ให้รีบบันทึกลักษณะเอาไว้ทัน ที
1.5 มอบรายละเอียดให้กับตำรวจ หรือผู้มีหน้าที่เกี่ยวข้อง
2. สิ่งที่สามารถจดจำได้ง่ายและควรจดจำก่อน2.1 ประเภทรถจักรยานยนต์ รถเก๋งส่วนบุคคล รถยนต์แท็กซี่สาธารณะ รถบรรทุก รถปิ๊กอัพ รถสามล้อเครื่อง รถจี๊ป ฯลฯ
2.2 สีของรถ เป็นรถสีใด บริเวณใด เป็นสีชนิดธรรมดา ลูไซท์ ฯลฯ
2.3 ความเก่า-ใหม่ เป็นรถค่อนข้างเก่าหรือใหม่
2.4 ยี่ห้อ เป็นรถยี่ห้อใด รุ่นปี พ.ศ. ใด (ต้องฝึกดูและจดจำยี่ห้อต่างๆ )
2.5 หมายเลขทะเบียน ดูได้จากแผ่นป้ายทะเบียน ให้จดจำทั้งตัวอักษรและหมายเลข ถ้าเป็นรถต่างจังหวัด ให้จดจำชื่อจังหวัดไว้ด้วย แผ่นป้ายทะเบียนรถประเภทต่างๆ
จะแตก ต่างกันไป เช่น รถเก๋งส่วนบุคคลแผ่นป้ายทะเบียนจะเป็น พื้นสีขาวตัวเลขและตัวอักษรเป็นสีดำ (เป็นป้ายของทางราชการ) ติดข้างหน้า-หลัง รถแท็กซี่แผ่นป้าย
ทะเบียนจะเป็นพื้นสีเหลือง ตัวอักษรสีดำติดทั้งข้างหน้า-หลัง แผ่นป้ายทะเบียนรถจักรยานยนต์จะเป็นพื้นสีขาวตัวเลขตัวอักษรสีดำ ติดข้างหลังเพียงแผ่น เดียวอนึ่ง
ในการสั่งเกตุแผ่นป้ายทะเบียนพยายามสังเกตด้วยว่าเป็นแผ่นป้ายที่ติดไว้อย่างหลวมหรือติดอย่างแน่นหนา หรือมีการพรางเลขอักษรของแผ่นป้ายนั้นๆหรือไม่ด้วย
วิธีการใด (ปัจจุบันคนร้ายมักใช้แผ่นป้ายทะเบียนปลอมหรือมีการพรางเลขหมายทะเบียนและตัวอักษรให้ผิดไปจากความเป็นจริง)
3. สิ่งที่เป็นตำหนิรอยชนที่เห็นได้ชัด3.1 ตำหนิ เช่น กระจกแตก สีลอก มีรอยเจาะที่ตัวถังของรถ ฯลฯ
3.2 รอยชน รอยบุบ รถมีรอยถูกชนบริเวณใด มากน้อยเพียงใด มีรอยบุบที่ใด
3.3 จุดเด่น เป็นรถที่แต่งเพื่อใช้แข่งขัน มีเสาอากาศ ติดอุปกรณ์พิเศษต่างๆ กับรถ ฯลฯ
3.4 สติกเกอร์ ฟิล์มติดสติกเกอร์ บริเวณใด เป็นรูปหรือเครื่องหมาย หรือข้อความใด มีติดฟิล์มกรองแสงมาก-น้อยที่ใด อย่างไร
3.5 แผ่นป้ายที่ติดกับกระจกด้านหน้า ได้แก่ แผ่นป้ายวงกลมแสดงการเสียภาษี แผ่นป้ายผ่านเข้า-ออกของสถานที่ต่างๆ บางครั้งระบุชื่อไว้ที่แผ่นป้ายถ้าเห็นให้จดจำไว้
ด้วย แผ่นป้ายแสดงสิทธิพิเศษต่างๆ เช่นการจอดรถ การประกันภัย ฯลฯ การสังเกตยานพาหนะรถยนต์และรถจักรยานยนต์ รถยนต์หมายเลขทะเบียนรถ ตำแหน่งที่ติด
ประเภทรถเก่า รถกระบะ รถบรรทุก สีรถสติกเกอร์ที่ตกแต่ง ยี่ห้อรถ และรุ่น ตำแหน่งป้ายวงกลม ป้ายผ่านเข้า-ออกสถานที่ส่วนบุคคล ตำแหน่งเสาวิทยุ โทรทัศน์
ชนิดไฟท้าย รูปลักษณะสิ่งประดับ เช่น แขวนหน้ารถ ว่างหน้ารถ รถจักรยานยนต์ เลขทะเบียน ตำแหน่งที่ติด ประเภท วิบาก ผู้หญิง สีรถ สติกเกอร์ที่ตกแต่ง ยี่ห้อ
รุ่น ไฟท้าย บังโคลน ท่อไอเสีย แบบและเสียง
3.6 เสียงของเครื่องยนต์ แตรจดจำว่าเสียงอย่างไร รถบางประเภท เสียงเครื่องยนต์ เสียงแตร เฉพาะตัว เสียงรถแข่ง รถปกติ รถสามล้อ รถจักรยานยนต์ย่อมแตกต่าง
กันบางครั้งเห็นยานพาหนะก็อาจสันนิฐานได้ว่าเป็นยานพาหนะอะไร ต้องอาศัยความชำนาญพอสมควร ทั้งหมดที่ได้แนะนำมานี้เป็นเพียงแนวทางในการที่ท่านจะใช้
ในการสั่งเกตจดจำตำหนิรูปพรรณของบุคคล ลักษณะของยานพาหนะที่ต้องสงสัย การที่ท่านจะจดจำได้ดีนั้นขึ้นอยู่กับว่าท่านมีความสนใจและมีการฝึกฝนในการจดจำ
ตามแนวทางมากน้อยเพียงใด วิธีการฝึกจดจำนั้นไม่ใช่ของยากท่านอาจฝึกฝน จดจำบุคคลที่เดินผ่านไปมา หรือยานพาหนะที่ผ่านไปมาแล้วลองบันทึกสิ่งที่ท่านจำได้
แล้วนำไปตรวจสอบกับบุคคล ยานพาหนะจริง อย่างไรก็ตามข้อสำคัญของการสั่งเกตจดจำจะเป็นประโยชน์ต่อการสืบส่วนของตำรวจก็คือข้อมูลที่แม่นยำใกล้เคียงกับ
ความเป็นจริงมากที่สุด ดังนั้นหากท่านไม่แน่ใจในข้อมูลใดๆ ก็ไม่ควรใช้วิธีเดาหรือคิดเอาเอง เพราะถ้าให้ข้อมูลเหล่านี้กับตำรวจแล้วอาจทำให้เกิดการไขว้เขว สับสน
แก่การปฏิบัติงานของตำรวจอย่างแน่นอน


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น