ชมรมตำรวจอาสาสถานีตรวจภูธรหนองขาม

วันพุธที่ 22 ธันวาคม พ.ศ. 2553

เมาไม่ขับ


เพิ่มโทษเมาแล้วขับ


กำลังอยู่ในช่วงโค้งสุดท้าย...เทศกาลส่งท้ายปีเก่าต้อนรับปีใหม่ หลายหน่วยงานเร่งรณรงค์ให้ผู้คนตระหนักถึงอุบัติเหตุ ที่จะเกิดขึ้นระหว่างเดินทาง

          สมัชชาสุขภาพแห่งชาติ ระบุว่า 1 ล้าน 2 แสนคน...คือตัวเลขผู้เสียชีวิตจากอุบัติเหตุทางถนนทั่วโลกในแต่ละปี

          ในจำนวนนี้มีชีวิตที่จากไปบนท้องถนนเมืองไทยไม่น้อย...ปี 2551 มีผู้เสียชีวิต 11,267 คน...ตายเฉลี่ยวันละ 33 คน

          ถ้าเป็นช่วงเทศกาลใหญ่ จะตายเพิ่มเป็นทวีคูณ อยู่ที่วันละ 5060 คน หากคิดเป็นอัตราผู้เสียชีวิต พบว่า สูงถึง 17.7 คนต่อประชากร 1 แสนคน

          สะท้อนว่า...อุบัติเหตุทางถนนเป็นปัญหาที่หนักหนาในบ้านเรา

          อุบัติเหตุไม่ใช่เรื่องของเวรกรรมหรือโชคชะตา แต่เป็นปัญหาที่ป้องกันได้ ผลการศึกษาขององค์การอนามัยโลก ระบุว่า การออกแบบผังเมือง และการเดินทางด้วยระบบขนส่งสาธารณะที่มีคุณภาพเป็นหัวใจหนึ่งในการลดอุบัติเหตุบนท้องถนน

          เมื่อดูในเชิงโครงสร้าง แนวโน้มการขนส่งสาธารณะประเทศไทย โตเพียง 10-20 เปอร์เซ็นต์ เป็นสัดส่วนที่ช้าเมื่อเทียบ
กับปริมาณรถส่วนบุคคล...ที่เพิ่มถึง 80 เปอร์เซ็นต์



      คำถามสำคัญมีว่า...ใครต้องรับผิดชอบ?

          งานประชุมวิชาการ "ยกระดับการบังคับใช้กฎหมายเมาแล้วขับให้มีประสิทธิภาพ" จัดโดยศูนย์วิชาการเพื่อความปลอดภัยทางถนน (ศวปถ.) มูลนิธิเมาไม่ขับ เครือข่ายลดอุบัติเหตุและสำนักงานองค์กรงดเหล้า สนับสนุนโดยสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ที่จังหวัดชลบุรี เมื่อเร็วๆนี้

          นพ.ธนะพงศ์ จินวงษ์ ผู้จัดการศูนย์วิชาการเพื่อความปลอดภัยทางถนน (ศวปถ.) มูลนิธิสาธารณสุขแห่งชาติ (มสช.) ให้ทรรศนะว่า ประเทศไทยถึงจะมีกฎหมาย...เมาแล้วขับ มีโทษทั้งจับและปรับ เพิกถอนหรือระงับใบอนุญาตขับขี่ รวมทั้งนำมาตรการคุมประพฤติมาใช้ แต่ยังไม่สามารถลดการเกิดอุบัติเหตุได้

          "องค์การอนามัยโลก (WHO) ให้คะแนนมาตรการแก้ปัญหาเมาแล้วขับ ของไทยเพียง 5 เต็ม 10 คะแนน...ถือว่าอยู่ในเกณฑ์ต่ำ เป็นผลจากการดำเนินการตรวจจับและการลงโทษที่ยังขาดประสิทธิภาพ"

          เมื่อเปรียบเทียบกับประเทศที่ดำเนินการแก้ปัญหาเมาแล้วขับอย่างได้ผล เช่น ออสเตรเลีย ญี่ปุ่น พบว่า ประเทศเหล่านี้มีมาตรการตรวจวัดระดับแอลกอฮอล์ในผู้ขับขี่ได้อย่างครอบคลุม รวมทั้งมีบทลงโทษผู้กระทำผิดในสัดส่วนที่สูงทั้งโทษจำและโทษปรับ

          นพ.ธนะพงศ์ บอกอีกว่า รัฐวิกตอเรีย ในออสเตรเลีย มีประชากร 4.8 ล้านคน แต่มีมาตรการด้านวิศวกรรมจราจรและการบังคับใช้กฎหมายที่เข้มงวด จนสามารถลดการเสียชีวิตจากอุบัติเหตุทางถนนจากประมาณ 1,000 ราย เหลือเพียง 300 ราย

          ปี 2551 สามารถตรวจระดับแอลกอฮอล์ของผู้ขับขี่รถได้ถึง 3.5 ล้านครั้ง แม้จะมีตำรวจจราจรเพียง 3 พันคน

          เหลียวมองประเทศไทย...การบังคับใช้กฎหมายยังขาดประสิทธิภาพ อุปกรณ์ตรวจวัดระดับแอลกอฮอล์ก็ยังมีจำกัด ไม่เพียงพอครอบคลุม รวมถึงบทลงโทษผู้กระทำความผิดยังไม่สามารถลดพฤติกรรมเมาแล้วขับได้

          ผลการสำรวจพบว่า ประชาชนส่วนใหญ่เห็นว่าควรเพิ่มโทษ ค่าปรับให้สูงขึ้นโดยเฉพาะผู้ที่กระทำผิดซ้ำและเพิ่มโทษกักขังแทนการลงอาญา

          ต่างประเทศ 1 ใน 3...ของคนที่ฝ่าฝืนกฎหมายเมาแล้วขับ เป็นการทำผิดซ้ำ หลายประเทศจึงกำหนดมาตรการลงโทษเฉพาะสำหรับผู้ กระทำผิดซ้ำ

          เช่น โทษจำคุก ปรับ และยึดใบขับขี่ ยึดทะเบียนรถหรือยึดรถ และให้เข้ารับการบำบัดการติดเหล้า

          ย้ำสาเหตุการเกิดอุบัติเหตุทางถนน 4 ประการ หนึ่ง...ดื่มแล้วขับ สอง...ขับรถซิ่ง สาม...ง่วงแล้วขับ สี่...ขับรถสวนทาง สำนักงานเครือข่ายลดอุบัติเหตุ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข แนะว่า ทางรอดที่ทำได้ง่ายๆ เริ่มจาก...

          "ตั้งสติก่อนสตาร์ต" แล้วก็ปฏิบัติตนด้วยการย้อนศรสาเหตุข้างต้น "ดื่มไม่ขับ...ขับไม่ซิ่ง...ง่วงไม่ขับ แล้วก็...โทร.ไม่ขับ"

          ย้ำให้รู้กันบ่อยๆ กฎหมายห้ามผู้ขับขี่มีปริมาณแอลกอฮอล์ในเลือดเกิน 50 มิลลิกรัมเปอร์เซ็นต์

          ผู้ที่ดื่มแล้วขับ ถูกตรวจพบว่ามีระดับแอลกอฮอล์เกิน มีโทษจำคุกไม่เกิน 1 ปี...ปรับตั้งแต่ 5,000-20,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ทั้งนี้ ศาลอาจสั่งให้ถูกคุมประพฤติ ทำงานบริการสังคม ซึ่งอยู่ในดุลยพินิจของศาล

          ดื่มแล้วขับ...ถูกจับคุมประพฤติ จะถูกให้พักใบอนุญาตขับขี่ไม่น้อยกว่า 2 เดือน, ต้องทำงานบริการสังคม, ต้องเข้ารับการอบรมหลักสูตร "การปรับเปลี่ยนพฤติกรรม" ภายใต้การดูแลของเจ้าพนักงานคุมประพฤติ

          กรณีดื่มแล้วขับ...ทำให้ผู้อื่นบาดเจ็บ หรือได้รับอันตราย มีโทษจำคุกไม่เกิน 2 ปี...ปรับไม่เกิน 20,000-40,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ และให้ศาลสั่งพักใบอนุญาตขับขี่ไม่น้อยกว่า 6 เดือน

          หากทำให้ผู้อื่นได้รับอันตรายบาดเจ็บสาหัส มีโทษจำคุก 26 ปี... ปรับ 40,000100,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ และให้ศาลสั่งพักใบอนุญาตขับขี่ ไม่น้อยกว่า 1 ปี

          โทษขั้นรุนแรงที่สุด ดื่มแล้วขับ ทำให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย

          จำคุก 310 ปี...ปรับ 60,000200,000 บาท และให้ศาลสั่งเพิกถอนใบอนุญาตขับขี่

          สมัชชาสุขภาพ รายงานบรรยากาศลานเบียร์ช่วงลมหนาว ที่ผุดขึ้นมาทั่วเขตเมือง พร้อมกับกิจกรรมส่งเสริมการขายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในหลากหลายรูปแบบ

          จัดคอนเสิร์ต กิจกรรมบันเทิงดารา นักร้อง คนดัง...เจาะกลุ่มนักดื่มวัยรุ่น วัยทำงาน ด้วยการพ่วงชื่อยี่ห้อ พร้อมส่วนลด...ตามเงื่อนไข เข้าไปในบัตรกิจกรรมนั้นๆ

          ที่ต้องตอกย้ำ เพราะแอลกอฮอล์ไม่ใช่สินค้าธรรมดา คนไทยไม่น้อยนิยมบริโภคในปริมาณสูงจนน่าตกใจ...ขณะเดียวกัน ก็มีนักดื่มหน้าใหม่เพิ่มขึ้นปีละ 260,000 คน

          โดยเฉพาะช่วงอายุ 1219 ปี...เพิ่มสูงขึ้นอย่างมาก



          องค์การอนามัยโลกแสดงตารางเปรียบเทียบการดื่มในวัยผู้ใหญ่...ภายใน 2 ชั่วโมง พบว่า นักดื่มผู้ใหญ่ชาย ดื่ม 5 แก้ว...ปริมาณดื่มแอลกอฮอล์เฉลี่ยต่อวัน 85.72 กรัม มีระดับความเมา... "ดื่มหนักจนเมามาย"

          นักดื่มผู้ใหญ่หญิง ดื่ม 4 แก้ว...ปริมาณดื่มแอลกอฮอล์เฉลี่ยต่อวัน 51.99 กรัม มีระดับความเมา...เมามายเท่ากัน

          ถ้าเป็นนักดื่มเยาวชนหน้าใหม่ชาย ตารางไม่ได้ระบุจำนวนแก้ว แต่วัด... ปริมาณดื่มแอลกอฮอล์เฉลี่ยต่อวันได้สูงถึง 1,118.35 กรัม มีระดับความเมา... "ดื่มหนักจนอันตราย"

          ส่วนนักดื่มหน้าใหม่เยาวชนหญิง ปริมาณดื่มแอลกอฮอล์เฉลี่ยต่อวัน อยู่ที่ 61.99 กรัม มีระดับความเมา... "ดื่มหนักจนอันตราย" เหมือนกัน

          "ที่น่าเป็นห่วง...อายุเฉลี่ยของนักดื่มหน้าใหม่เริ่มลดลง จากเดิมที่เป็นนักเรียน นักศึกษาระดับมัธยมศึกษา แต่ปัจจุบันพบว่า นักเรียนในระดับประถมศึกษาก็เริ่มมีการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เพิ่มขึ้นด้วยเช่นกัน" สงกรานต์ ภาคโชคดี ผู้อำนวยการสำนักงานองค์กรงดเหล้า สสส. บอก

          สงกรานต์ บอกว่า ประเทศไทยเก็บภาษีจากเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ได้ปีละประมาณ 9 หมื่นล้านบาท แต่จากรายงานของกระทรวงสาธารณสุข กลับพบว่า... ประเทศไทยต้องสูญเสียรายได้ให้กับธุรกิจเครื่องดื่มแอลกอฮอล์... ตกประมาณปีละ 4 แสนล้านบาท



          "สอง...แสนล้านบาท ได้จากผู้ที่ซื้อเครื่องดื่มแอลกอฮอล์มาบริโภค ส่วนใหญ่ จะเป็นผู้ที่มีรายได้น้อยถึงปานกลาง...ส่วนอีก...สองแสนล้านบาท ได้จากภาษีของประชาชนที่รัฐบาลนำไปใช้เยียวยาความสูญเสียที่เกิดจากอุบัติเหตุ...เมาแล้วขับ"

          เครื่องดื่มแอลกอฮอล์เป็นพิษภัยสำคัญที่เกี่ยวโยงกับสุขภาวะคนไทยทั้งประเทศ การที่รัฐต้องเสียค่าใช้จ่ายในการเยียวยาปัญหาที่เกิดจากเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ทั้งทางตรง...ทางอ้อม ถือเป็นภาระที่ใหญ่หลวง

          เมื่อเทียบภาษีที่เก็บได้กับความเสียหายที่เกิดขึ้น...ยังไงๆก็ได้ไม่คุ้มเสีย

          ทางออกสำคัญ...ยุทธศาสตร์ชาติ จะต้องขับเคลื่อนกฎหมาย นโยบายควบคุมน้ำเมาให้เข้มข้น เพื่อลด ควบคุมขนาด...ความรุนแรงของปัญหาแอลกอฮอล์ในสังคมไทยอย่างได้ผล












ด้วยความปราถนาดีจาก
ตำรวจอาสา สภ.หนองขาม

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น